พบเห็นเด็กถูกทำร้ายโทร 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม

If child abuse is seen. Contact 1300 (Social Assistance Centre) immediately






การใช้

ความรุนแรง

กับเด็ก






Physical

Child

Abuse

เกี่ยวกับ

About

    เว็บนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อสร้างความตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี โดยเนื้อหาในเว็บจะมุ่งเน้นไปที่การใช้ความรุนแรงกับเด็กผ่านการลงโทษและสั่งสอนด้วยความรุนแรงทางกาย ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดที่เกิดขึ้นในสังคมจากอดีตมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในเว็บยังประกอบไปด้วยวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงในการเลี้ยงดูลูก

    This website was created for human rights awareness. The contents in this website will focus on violence against children by physical violence, which is the false belief in society from the past to the present. Furthermore, these website contents also include guides on how to positively raising your children with discipline without the violence.

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

Convention on the Rights of the Child : CRC

อารัมภบท

รัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้

    พิจารณาว่า ตามหลักการที่ประกาศในกฎบัตรสหประชาชาตินั้น การยอมรับในศักดิ์ศรีแต่กำเนิดและสิทธิที่เท่าเทียมกัน ซึ่งไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งปวงของมวลมนุษยชาตินั้น เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก

    คำนึงว่า บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความศรัทธาต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและต่อศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์และได้ตั้งเจตจำนงที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้เสรีภาพที่กว้างขวางขึ้น

    ยอมรับว่า สหประชาชาติได้ประกาศ และตกลงในปฏิญญาและกติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่าทุก คนมีสิทธิและเสรีภาพทั้งปวงที่กำหนดไว้โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใดๆ อาทิเช่น เชื้อชาติสีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น ต้นกำเนิดทางการเมืองหรือทางอื่น ต้นกำเนิดทางชาติหรือ สังคม ทรัพย์สิน การเกิดหรือสถานะอื่น

    ระลึกว่า สหประชาชาติได้ประกาศในปฏิญญาสากลว่าเด็กมีสิทธิที่จะได้รับการดูแล และการช่วยเหลือ เป็นพิเศษ

    เชื่อว่า ครอบครัวในฐานะเป็นกลุ่มพื้นฐานของสังคมและเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสำหรับการ เจริญเติบโตและความอยู่ดีกินดีของสมาชิกทุกคน โดยเฉพาะเด็กควรจะได้รับการคุ้มครองและการช่วยเหลือที่ จำเป็นเพื่อที่จะสามารถมีความรับผิดชอบในชุมชนของตนได้อย่างเต็มที่

    ยอมรับว่า เพื่อให้เด็กพัฒนาบุคลิกภาพได้อย่างกลมกลืนและเต็มที่ที่จะดำรงชีวิตที่เป็นตัวของตัวเองในสังคมและควรเลี้ยงดูเด็กตามเจตนารมณ์แห่งอุดมคติที่ประกาศไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติโดยเฉพาะ เจตนารมณ์แห่งสันติภาพ ศักดิ์ศรีความอดกลั้น เสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นเอกภาพ

    คำนึงถึงว่า ได้มีการระบุถึงความจำเป็นที่จะขยายการดูแลโดยเฉพาะแก่เด็กในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1924 และในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งสมัชชาได้รับเอาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 และได้มีการยอมรับในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (โดยเฉพาะข้อ 23 และข้อ 24) ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (โดยเฉพาะข้อ 10) และในธรรมนูญและตราสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของทบวงการชำนาญพิเศษ และองค์การระหวางประเทศที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของเด็ก

    คำนึงถึงว่า ตามที่ได้ระบุในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั้น เด็กโดยเหตุที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ จึงต้องการการพิทักษ์และการดูแลเป็นพิเศษ รวมถึงต้องการการคุ้มครองทางกฎหมายที่เหมาะสมทั้ง ก่อนและหลังการเกิด

    ระลึกว่า บทบัญญัติของปฏิญญาว่าด้วยหลักกฎหมายและสังคมอันเกี่ยวกับการคุ้มครองและสวัสดิภาพเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการอุปการะและการรับเป็นบุตรบุญธรรมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ กฎระเบียบมาตรฐานขั้นต่ำสุดของสหประชาชาติสำหรับการบริหารงานยุติธรรมแก่ผู้เยาว์ (กฎปักกิ่ง) และปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองสตรีและเด็กในภาวะฉุกเฉินและกรณีพิพาทกันด้วยอาวุธ

    ยอมรับว่า ประเทศทั้งปวงในโลกมีเด็กที่ดำรงชีวิตอยูในสภาวะที่ยากลำบากอย่างยิ่งและเขาเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ

    พิจารณาตามสมควรถึงความสำคัญของประเพณีและค่านิยมทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มที่มีต่อการคุ้มครองและพัฒนาการอย่างกลมกลืนของเด็ก

    ยอมรับ ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของเด็กในทุกๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา

ได้ตกลงกัน ดังนี้

Preamble

The States Parties to the present Convention,

    Considering that, in accordance with the principles proclaimed in the Charter of the United Nations, recognition of the inherent dignity and of the equal and inalienable rights of all members of the human family is the foundation of freedom, justice and peace in the world,

    Bearing in mind that the peoples of the United Nations have, in the Charter, reaffirmed their faith in fundamental human rights and in the dignity and worth of the human person, and have determined to promote social progress and better standards of life in larger freedom,

    Recognizing that the United Nations has, in the Universal Declaration of Human Rights and in the International Covenants on Human Rights, proclaimed and agreed that everyone is entitled to all the rights and freedoms set forth therein, without distinction of any kind, such as race, colour, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth or other status,

    Recalling that, in the Universal Declaration of Human Rights, the United Nations has proclaimed that childhood is entitled to special care and assistance,

    Convinced that the family, as the fundamental group of society and the natural environment for the growth and well-being of all its members and particularly children, should be afforded the necessary protection and assistance so that it can fully assume its responsibilities within the community,

    Recognizing that the child, for the full and harmonious development of his or her personality, should grow up in a family environment, in an atmosphere of happiness, love and understanding,

    Considering that the child should be fully prepared to live an individual life in society, and brought up in the spirit of the ideals proclaimed in the Charter of the United Nations, and in particular in the spirit of peace, dignity, tolerance, freedom, equality and solidarity,

    Bearing in mind that the need to extend particular care to the child has been stated in the Geneva Declaration of the Rights of the Child of 1924 and in the Declaration of the Rights of the Child adopted by the General Assembly on 20 November 1959 and recognized in the Universal Declaration of Human Rights, in the International Covenant on Civil and Political Rights (in particular in articles 23 and 24), in the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (in particular in article 10) and in the statutes and relevant instruments of specialized agencies and international organizations concerned with the welfare of children,

    Bearing in mind that, as indicated in the Declaration of the Rights of the Child, "the child, by reason of his physical and mental immaturity, needs special safeguards and care, including appropriate legal protection, before as well as after birth",

    Recalling the provisions of the Declaration on Social and Legal Principles relating to the Protection and Welfare of Children, with Special Reference to Foster Placement and Adoption Nationally and Internationally; the United Nations Standard Minimum Rules for the Administration of Juvenile Justice (The Beijing Rules); and the Declaration on the Protection of Women and Children in Emergency and Armed Conflict, Recognizing that, in all countries in the world, there are children living in exceptionally difficult conditions, and that such children need special consideration,

    Taking due account of the importance of the traditions and cultural values of each people for the protection and harmonious development of the child, Recognizing the importance of international co-operation for improving the living conditions of children in every country, in particular in the developing countries,

Have agreed as follows:


ข้อ 19

Article 19

    รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ด้านนิติบัญญัติบริหาร สังคม และการศึกษา ในอันที่จะคุ้มครองเด็กจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิต การทำร้ายหรือการกระทำอันมิชอบ การทอดทิ้งหรือ การปฏิบัติโดยประมาท การปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงประโยชน์รวมถึงการกระทำ อันมิชอบทางเพศขณะอยู่ในความดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยู่ในความดูแลตามแต่จะเหมาะสม มาตรการคุ้มครองเช่นว่านี้ควรรวมถึงกระบวนการที่มี ประสิทธิผลสำหรับการจัดตั้งแผนงานทางสังคม ในอันที่จะให้การสนับสนุนที่จำเป็น แก่เด็กและบุคคลซึ่งเด็กนั้นอยู่ในความดูแล ตลอดจนกระบวนการที่มีประสิทธิผล สำหรับการป้องกันในรูปแบบอื่น และให้มีการระบุการรายงาน การส่งเรื่องเพื่อพิจารณา การสืบสวน การปฎิบัติและการติดตามเรื่องของกรณีการปฏิบัติที่ผิดต่อเด็ก ตามที่ระบุมาแล้วข้างต้น และในกรณีที่เหมาะสมให้ทางตุลาการเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

    States Parties shall take all appropriate legislative, administrative, social and educational measures to protect the child from all forms of physical or mental violence, injury or abuse, neglect or negligent treatment, maltreatment or exploitation, including sexual abuse, while in the care of parent(s), legal guardian(s) or any other person who has the care of the child.Such protective measures should, as appropriate, include effective procedures for the establishment of social programmes to provide necessary support for the child and for those who have the care of the child, as well as for other forms of prevention and for identification, reporting, referral, investigation, treatment and follow-up of instances of child maltreatment described heretofore, and, as appropriate, for judicial involvement.


ข้อ 39

Article 39

    รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ และการกลับคืนสู่สังคมของเด็กที่ได้รับเคราะห์จากการละเลย ในรูปแบบใด ๆ การแสวงประโยชน์การกระทำอันมิชอบ การทรมานหรือการลงโทษ หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้าโดยรูปอื่น หรือการพิพาท กันด้วยอาวุธ การฟื้นฟูหรือการกลับคือสู่สังคมดังกล่าว จะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมสุขภาพ การเคารพตนเอง และศักดิ์ศรีของเด็ก

    States Parties shall take all appropriate measures to promote physical and psychological recovery and social reintegration of a child victim of any form of neglect, exploitation, or abuse; torture or any other form of cruel, inhuman or degrading treatment or punishment; or armed conflicts. Such recovery and reintegration shall take place in an environment which fosters the health, self-respect, and dignity of the child.


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

Universal Declaration of Human Rights

ข้อ 5 ไม่ถูกทรมาน

Article 5 No Torture

บุคคลใดจะถูกกระทำการทรมาน หรือการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีไม่ได้

No one shall be subjected to torture or to cruel, inhuman or degrading treatment or punishment.

สถิติการใช้ความรุนแรงทางกายกับเด็ก

Statistic of physical child abuse

ที่มา: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ความรุนแรง

Violence

    คือ การกระทำใดๆ ต่อร่างกาย หรือจิตใจ เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจิตใจและพัฒนาการ การทอดทิ้ง หรือการปล่อยปละละเลย การแสวงประโยชน์ การล่วงเกินทางเพศ การใช้เด็กให้กระทำ หรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายจิตใจและพัฒนาการ หรือขัด ต่อกฎหมายศีลธรรมอันดีรวมถึงการกระทำโดยมิชอบ ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม


ที่มา : คู่มือการปฏิบัติและข้อตกลงร่วมกัน: การคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กในภาวะเสี่ยงและเป็นเหยื่อจากการละเมิดละเลยทอดทิ้งแสวงหาผลประโยชน์และความรุนแรง, พ.ศ. 2553

    Violence is an act of physical force that causes or is intended to cause harm. The damage inflicted by violence may be physical, psychological, or both. Violence to children may include negligence, exploitation, sexual harassment, child abuse or act that may cause physical, psychological, or both harm to children development, including disregarding laws or moral with or without children consent.

ความรุนแรงทางร่างกาย

Physical Abuse

    หมายถึง การทำให้เกิดอันตราย หรือทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอันตราย ต่อร่างกายของเด็กจากการกระทำหรือละเลย ที่จะกระทำ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้ของบิดามารดา หรือผู้ดูแลที่อยู่ในฐานะรับผิดชอบเด็ก หรือผู้มีอำนาจเหนือเด็ก หรือเป็นผู้ที่เด็กไว้ใจ อาจเกิดขึ้นครั้งเดียวหรือเกิดขึ้นซ้ำๆ (โดยการกระทำดังกล่าว อาจเกิดจากการใช้ความรุนแรง หรือ การพยายามให้เกิดความเจ็บปวด บาดเจ็บ หรือเป็นอันตราย โดยบุคคลที่กระทำอยู่ในสถานะที่มีกำลังเหนือกว่า หรือมีอำนาจในการต่อรอง ซึ่งครอบคลุมถึงการลงโทษด้วยความรุนแรงด้วย)

ตัวอย่างของความรุนแรงทางร่างกายต่อเด็ก

1. ชกต่อยหรือเตะ

2. จับตัวเขย่าหรือโยน

3. ตีด้วยวัสดุหรือสิ่งของ เช่น ไม้เรียว หรือเข็มขัด

4. ใช้ไฟจี้หรือใช้น้ำร้อนลวก

5. จับกดน้ำ บีบรัดคอหรืออุดปากจมูกทำให้หายใจไม่ออก หรือบังคับให้กินหรือดื่มสิ่งที่เป็นพิษหรือเป็นอันตราย

    Child physical abuse is the act that will cause physical harm, or risk to cause physical harm to child by act or negligence, which could cause by the parent, guardians or person with that child trust. The act may occur once or repeatedly. (The said act might be a physical harm or the intent to hurt, harm or put a child in danger. By the person in control which includes the violent punishment too).

Example of physical abuse to children

1. Hitting and beating a child

2. Hitting a child with an object, such as a belt or a stick

3. Burning a child with hot water, a cigarette, or an iron

4. Holding a child underwater

5. Tying up a child

6. Severely shaking a baby

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลงโทษลูก

Mis-belief about child punishment

    การอบรมสั่งสอนลูกโดยการลงโทษ ถือเป็นการฝึกระเบียบวินัยให้ได้ผลดีก็จริง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีบังคับลงโทษให้เจ็บตัว หรือดุว่าให้เจ็บใจเสมอไป เพราะวิธีดังกล่าวจะยิ่งทำให้พฤติกรรมดีๆ ไม่ปรากฏ แต่กลับได้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์มาแทน ทั้งยังเป็นการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก และถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษย์อีกคนหนึ่ง ในประเทศไทยคนไทยจำนวนมากยังมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ สอนให้เด็กรู้ถูกรู้ผิด ซึ่งความเชื่อผิดๆ ยังมีอีกมากมาย ดังนี้

ความเชื่อผิดๆ อย่างที่ 1

“ฉันก็เคยโดนตีมาแล้ว และก็ไม่เห็นจะเป็นผลร้ายตรงไหน”


ความเชื่อผิดๆ อย่างที่ 2

“ฉันลองใช้วิธีอื่นมาหมดแล้วไม่เห็นได้ผล!” หรือ “เด็กหาเรื่องให้โดนตีเอง”


ความเชื่อผิดๆ อย่างที่ 3

“การตีได้ผลดีที่สุด วิธีอื่นไม่มีประสิทธิภาพ”


ความเชื่อผิดๆ อย่างที่ 4

“การตี ทำให้เด็กเป็นคนว่านอนสอนง่าย”


ความเชื่อผิดๆ อย่างที่ 5

“ฉันใช้การตีเป็นวิธีสุดท้ายเท่านั้น เพราะไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆ”


ความเชื่อผิดๆ อย่างที่ 6

“การเฆี่ยนตีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเรา”


ที่มา : หนังสือคู่มือครู วินัยเชิงบวก โดย ผศ.ดร. สมบัติ ตาปัญญา

     The way of teaching by punishment is an effective way of disciplining a child, but physical and verbal isn't always the solution. Because the said act will diminish the good behavior and return the unwanted behavior instead. Plus, that said act is not only a child abuse ,but also is a human rights violation too. In Thailand, there is still some misconception about child physical punishment that this is the most effective and the correct way to teach children. There are some more of the common mis-belief too. Here are the examples

Common Mis-belief I

"I have been beaten as a child before and I don't see the problem with that."


Common Mis-belief II

"I tried the other methods and they didn't work" or "The kids get in the trouble themselves"


Common Mis-belief III

"The beating is the best method, everything else is ineffective."


Common Mis-belief IV

"Beating kids makes them fall in line"


Common Mis-belief V

"I reach out to my rod only as last resort because I had no other choice."


Common Mis-belief VI

"Beating kids is a part of our culture."


Source : หนังสือคู่มือครู วินัยเชิงบวก โดย ผศ.ดร. สมบัติ ตาปัญญา

คลิปวิดิโอ

Video

ข่าว

News

ช่วยเด็ก 4 ขวบถูกขังในบ้านลำพัง แผลเต็มตัว บอกแม่ตีหนู อ่าน

สะเทือนใจชาวเน็ต! แม่ใช้เหล็กตีลูกเลือดอาบ ลงโทษที่โดดเรียน อ่าน

หนุ่มทำร้ายลูก 2 ขวบ แม่บอกปกติดูแลหลานดี เชื่อสมาธิสั้น คุมอารมณ์ไม่ได้ อ่าน

รวบ "พ่อแท้-แม่เลี้ยง" ทำร้ายเด็กชายวัย 14 ผัวรับผิดแทนเมียอ้างแค่สั่งสอนลูก อ่าน

พ่อเลี้ยง-แม่แท้ๆ ทำร้ายลูก 6 ขวบ ให้การปฏิเสธ อ้างแค่สั่งสอน อ่าน

Dad accused of throwing 5-year-old off bridge in Florida Read

Man accused of waterboarding his 7-year-old daughter Read

Dad accused of killing newborn after losing video game Read

Parents who reported Andrew ‘AJ’ Freund missing now charged in his murder Read

Bronx mom accused of slashing kids’ throats has history of child abuse Read

ผลกระทบต่อตัวเด็กเมื่อถูกลงโทษทางร่างกาย

Physical punishment effects on children

ผลในระยะสั้น

  ด้านสุขภาพร่างกาย

    มีอาการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคผิดปกติต่างๆ เช่น ความผิดปกติเรื่องการทานอาหาร ปวดท้อง และ ยังขัดขวางพัฒนาการของเด็ก

  ด้านสุขภาพจิตใจ

    เด็กอาจรู้สึกเศร้าเสียใจ เสียความภูมิใจในคุณค่าของตนเอง สิ้นหวัง จนอาจมีอาการเศร้าซึมรุนแรงวิตกกังวล มีปัญหาการเข้าสังคม จน มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย หรือ อาจกลายเป็น เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เคารพกฎระเบียบ เนื่องจากความโกรธหรือความเครียดสะสม

ผลในระยะยาว

    เด็กมีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เพราะคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ อาจมีอาการก้าวร้าวชอบรังแกเพื่อน มีพฤติกรรมทารุณทางเพศ ทารุณกรรมเด็ก ทำร้ายคู่ครอง และอาจจะสืบทอดพฤติกรรมการลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง เมื่อได้เป็นพ่อคนแม่คนบ้าง ทำให้เกิดการถ่ายทอดพฤติกรรมรุนแรงจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อไป

    เด็กมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น นิยมชมชอบการกระทำที่ผิดกฏหมาย เสพติดการใช้สารเสพติดต่างๆ ไปจนถึงการเข้าร่วม หรือกลายเป็นผู้ก่ออาชญากรรม


ที่มา : รายงานขององค์การยูนิเซฟเรื่อง “การเลี้ยงดูโดยมิชอบต่อเด็ก” (Child Maltreatment: Prevalence, Incidence and Consequences in East Asia and Pacific), 2012

Physical punishment effects on children

  Physical Health

     May cause injuries or abnormal disease, such as eating disorder and stomachache. May disrupt child development.

  Mental Health

    Children may felt down and hopeless, might lose self confidence. They may also have serious sadness syndrome, have trouble with socialising or in worst case, suicidal thouhght. Clildren might become aggressive, disobeying the rules because of anger or stress issue.

Long term effect

     Children might grow up to be an abusive adult, because they may thought that violence is normal. They might be agressive and will bully others, sexual harrasing, child abuse, dosmetic violence. And might continue punish children with violence. When they enter parenthood, they will inherit the cycle of hurtful punishment down the line.

     The child that have been abused has high chance to have unwanted behavior. E.G. Prefer to violates laws, Use of Drugs and joining in or committing crimes.


Source: Child Maltreatment: Prevalence, Incidence and Consequences in East Asia and Pacific, 2012, By UNICEF

ทางเลือกอื่นในการลงโทษ

Ways to Discipline Your Child Without Spanking

1. สบตาและอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นภาพ

    วิธีนี้เหมาะสมหรับเด็กเล็ก ใช้วิธีเข้าถึงตัวสบตา และใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงอธิบายสั้นๆเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ยกตัวอย่างเช่น “ถ้าหนูตีเพื่อน แล้วแม่ตีลูกบ้างจะชอบไหม”

2. ตักเตือน 1-3 ครั้ง

    วิธีนี้ใช้เพื่อส่งสัญญาณเตือนให้ลูกรู้ว่า ถ้าทำผิดอีกจะต้องรับโทษ และโทษที่หนักที่สุดอาจจะเป็นการตี และข้อดีของการเตือนก่อนคือ ลูกจะกลัวและไม่ทำผิดอีก เพราะกลัวถูกตี

3. ส่งน้ำเสียงและสายตาอย่างชัดเจน

    วิธีนี้ใช้เพื่อให้ลูกจดจำ ทั้งการใช้น้ำเสียงและส่งสายตาไม่พอใจของคุณแม่ เมื่อไรก็ตามที่คุณแม่ส่งสัญญาณเหล่านี้มา ลูกจะได้ไม่กล้าทำผิด

4. แสดงให้เห็นว่าเด็กไม่น่ารัก ไม่ควรได้รับความสนใจ

    วิธีนี้ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมไม่น่ารักของลูก เช่น เมื่อลูกให้ร้องไห้อาละวาด ก็ไม่ควรรีบเข้าไปตามใจ เพื่อให้ลูกรู้ว่าถ้าดื้อจะไม่มีใครสนใจ สักพักเด็กจะหยุดร้องไห้ไปเอง หลังจากนั้นให้เข้าไปคุยกับลูก เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาหรือชวนไปทำกิจกรรมอื่นแทน

5. จับแยกให้อยู่ตามลำพังหรือไทม์เอาต์ (Timeout)

    วิธีนี้ใช้ได้ผลกับเด็กอายุระหว่าง 2-10 ปี เพื่อให้ลูกสงบสติอารมณ์ โดยพาลูก ไปนั่งเก้าอี้ ที่อยู่ในบริเวณไม่มีของเล่น หรือโทรทัศน์ แต่อย่าขังลูกไว้ในห้องน้ำ หรือห้องมืดเด็ดขาด และให้ลูกนั่งนานตามอายุ เช่น ลูกอายุ 3 ขวบให้นั่งนาน 3 นาที หลังจากจบการลงโทษ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจทันที และสอนเหตุผลที่ทำโทษ

6. งดทำกิจกรรมที่ชอบ

    วิธีนี้ใช้ได้ผลกับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป เพราะเข้าใจเงื่อนไขและรู้จักคิด ไตร่ตรอง การลงโทษด้วยวิธีนี้ เป็นการฝึกให้ลูกมีระเบียบวินัย รู้จักใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ออกไปเล่นกับเพื่อน จนว่าลูกจะทำการบ้านเสร็จ

7. รับผิดชอบกับพฤติกรรมที่ทำลงไป

    วิธีนี้ได้ผลลัพธ์ดีกว่าการตีเสียอีก ทุกครั้งที่ถูกตี ลูกอาจไม่รู้เหตุผลด้วยซ้ำว่า ตีเพราะอะไร แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกแก้ไขสิ่งที่ทำผิดด้วยตัวเอง เช่น เมื่อลูกทำน้ำหกให้เช็ดด้วยตัวเอง ลูกจะเรียนรู้ได้ว่าเขาต้องรับผิดชอบกับผลการกระทำของตัวเองเสมอ


ที่มา https://aboutmom.co/features/how-to-punish-your-child/10689/

1. Place Your Child in Time-Out

     Placing a child in time-out can be a much better alternative. When done correctly, time-out teaches kids how to calm themselves down, which is a useful life skill.
    But in order for time-out to be effective, kids need to have plenty of positive time-in with their parents. Then, when they're removed from the situation, the lack of attention will be uncomfortable and that discomfort could remind them to behave better in the future.

2. Take Away Privileges

     Taking away a privilege hurts longer. Take away the TV, video games, his favorite toy or a fun activity for the day and he’ll have a reminder not to repeat that mistake.
     Make it clear when the privileges can be earned back. Usually, 24 hours is long enough to teach your child to learn from his mistake.
     So you might say, "You've lost TV for the rest of the day but you can earn it back tomorrow by picking up your toys the first time I ask."

3. Ignore Mild Misbehavior

     Selective ignoring can actually be more effective than spanking. This doesn’t mean you should look the other way if your child is doing something dangerous or inappropriate. But, you can ignore attention-seeking behavior.     When your child tries to get attention by whining or complaining, don’t give it to him. Look the other way, pretend you can't hear him, and don't respond.     Then, when he asks nicely or he behaves, return your attention to him. Over time, he'll learn that polite behavior is the best way to get his needs met.

4. Teach New Skills

     One of the main problems with spanking is that it doesn’t teach your child how to behave better. Spanking your child because he threw a temper tantrum, won't teach him how to calm himself down the next time he's upset.     Kids benefit from learning how to problem-solve, manage their emotions and compromise. When parents teach these skills it can greatly reduce behavior problems. Use discipline that is aimed at teaching, not punishing.

5. Provide Logical Consequences

     Logical consequences are a great way to help kids who are struggling with specific behavior problems. Logical consequences are specifically tied to the misbehavior.
    For example, if your child doesn’t eat his dinner, don’t let him have a bedtime snack. Or if he refuses to pick up his trucks, don’t allow him to play with them for the rest of the day.
    Linking the consequence directly to the behavior problem helps kids see that their choices have direct consequences.

6. Allow for Natural Consequences

     Natural consequences allow children to learn from their own mistakes. For example, if your child says he's not going to wear a jacket, let him go outside and get cold—as long as it's safe to do so.     Use natural consequences when you think your child will learn from his own mistake. Monitor the situation to ensure that your child won't experience any real danger.

7. Reward Good Behavior

    Instead of spanking a child for misbehavior, reward him for good behavior. For example, if your child fights with his siblings often, set up a reward system to motivate him to get along better with them.
     Providing an incentive to behave can turn around misbehavior fast. Rewards help kids to focus on what they need to do to earn privileges, rather than emphasize the bad behavior they're supposed to avoid.

8. Praise Good Behavior

     Prevent behavior problems by catching your child being good. For example, when he’s playing nicely with his siblings, point it out. Say, “You are doing such a good job sharing and taking turns today.”
     When there are several children in the room, give the most attention and praise to the children who are following the rules and behaving well. Then, when the other child begins to behave, give him praise and attention as well.


Source: https://www.verywellfamily.com/alternatives-to-spanking-1094834

คุณจะทำอย่างไร
What will you do?
ลูกคุณแอบเล่นเกมเกินเวลา คุณจะ...
Your kid play game past late night. You will...
ลูกของคุณเจ็บปวด และเสียใจมาก
You kid is in pain. And he felt very sad.
ลูกของคุณอารมณ์เสีย และกลายเป็นเด็กเก็บกด
You kid is upset. And he became repressive.
คุณเลือกที่จะไม่ใช่วิธีที่รุนแรง คุณกับลูกหาทางออกที่ดีกว่า
You choose not to take violent action. You and you kid help to create better agreement.
start
ตีลูก
ด่าลูก